Wednesday, November 23, 2011

Chapter 7 PHPMYADMIN part 2.

จากตอนที่6 เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้นแล้ว
วันนี้ ผมจะมาย้อนทำความเข้าใจกับคุณลักษณะของการตั้งชื่อฟิลด์ในตารางที่เรากำหนด กัน ซึ่งก็จะนำเสนอแบบพื้น ๆ ที่เข้าใจง่ายแล้วกันนะครับ



จากภาพนี้เราจะเห็นว่า ในตาราง employee มีการสร้างฟิลด์ 5 ตัวด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย
id,name,email,phone และ salary

หลัก การตั้งชื่อฟิลด์ก็ง่ายๆ  ครับ รานึกถึงแค่ว่าเราอยากเก็บข้อมูล และสื่อไปทางใด เช่น ผมตั้งคำว่า name ก็หมายถึงชื่อ email ก็หมายถึง เบอร์โทรศัพท์ หรือ salary ก็คือเงินเดือน

หลายท่านที่เขียนโปรแกรม หรือศึกษา คงจะทราบจุดนี้ดี ว่าควรตั้งชื่ออย่างไร กฏง่าย ๆ ครับก็คือ ในชื่อฟิลด์ที่ตั้ง จะไม่ีอักขระใด ๆ ที่นอกเหนือกลุ่มอักษร a-z หรือ A-Z หรือจะเป็นตัวเลข 0-9 รวมไปถึงสัญลักษณ์พิเศษที่อนุญาตได้ 2 ตัวคือ _ (underline) เป็นต้น

และจากภาพด้านบน ท่านผู้อ่านก็จะเห็นในบล๊อกของ ชนิด ซึ่งมีทั้งการกำหนดเป็น INT ,VARCHAR ส่วนนี้จะเป็นคุณลักษณะบ่งบอกว่า ฟิลด์ที่เรากำหนดนั้นเป็นลักษณะแบบไหน ดังตัวอย่าง ผมกำหนดไว้ 2ชนิดคือ

INT หมายถึง เลขจำนวนเต็ม ไม่มีทศนิยม ซึ่ง INT จะเป็นตัวเลขที่จะใช้ในการคำนวณก็ได้ หรือไม่ใช้ก็ได้
VARCHAR หมายถึง กลุ่มข้อความต่าง ๆ รวมถึงตัวเลขที่ไม่ได้ใช้ในการคำนวณ จะมีจำนวนตัวอักษณสูงสุดที่เก็บได้คือ 255 ตัวอักษร
นอกจากนี้ เมื่อเลื่อนลงมาก็จะพบ
TEXT หมายถึง กลุ่มข้อความจำนวนมาก ที่พิมพ์เข้าไปได้ โดยสูงสุดมากถึง 4,000 ตัวอักษร
DATE หมายถึง ลุ่มวันที่ ที่กำหนดตามรูปแบบ mm/dd/yyyy เป็นต้น

เอาแค่นี้ก่อนและกันครับ กับชนิดของตัวที่เราจะกำหนด

ในตอนต่อไป ผมจะให้ท่านผู้อ่านได้เขียน php เพื่อใช้งานกับ MYSQL ครับ

Part 6 with Mysql and phpmyadmin.

ห่างหายไปนานครับ ไม่ได้เข้ามาลงบทความต่อเนื่อง
เหตุเพราะกู้ภัยที่บ้านครับ ยังท่วมอยู่ ไร้วี่แววที่จะลด บางส่วนในกรุงเทพลดจนน่าอิจฉา

อ่ะมาถึงตอนที่ 6 นี้ เรามาทำความรู้จักกับ phpmyadmin และ mysql กันหน่อยครับ

phpmyadmin เป็นโปรแกรม app ตัวนึงที่ติดมาพร้อมกับ appserv ที่เราลงครั้งแรก โปรแกรมตัวนี้จะทำหน้าที่กำหนด
ที่อยู่ของฐานข้อมูลว่าจะเอาอารายไปใส่ลงไป เช่น เราต้องการทำงานด้านจัดเก็บข้อมูลของพนักงาน
ก็สร้างฐานข้่อมูลที่สอดคล้องกับที่เราจะทำ เช่น Empolyee ซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่
ต่อมากำหนดฟิลด์ให้กับบ้านหลังนี้ เช่น ชื่อพนักงาน ตำแหน่ง อีเมล์ เป็นต้น

WORKSHOP กันเลย
เมื่อท่านได้ลง Appserv เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้เปิด IE ขึ้นมาเลยครับ
แล้วพิมพ์ตรง Address ดังนี้

http://localhost/phpmyadmin

หน้า จอขึ้่น Dialog box เล็ก ๆ ขึ้นมา เพื่อให้เราใส่ username และ password (ซึ่งได้มาจากตอนที่เราติดตั้ง Appserv ครั้งแรก) หากใครจำไม่ได้ก็จะมาสรุปอีกทีในตอนต่อๆ ไป ในเรื่องของการแก้ไขต่าง ๆ และกันนะครับ

อย่างส่วนมากที่ผมจะตั้งตอนที่ติดตั้ง Appserv ก็จะกำหนด user เป็น root และ pass เป็น 123456 ซึ่งเราก็เอาข้อมูลตรงนี้มาใส่ตอนที่ phpmyadmin ถามหา username และ password

เมื่อเข้าสู่ phpmyadmin เรียบร้อยแล้ว
ก็จะพบหน้าตาดังนี้


ตามหน้าจอด้านบน ให้ใส่ชื่อฐานข้อมูลตามที่ท่านต้องการได้เลย ตามตัวอย่างขอใส่เป็น testdb



จากนั้นกดปุ่มสร้าง หน้าจอต่อไปจะปรากฏดังนี้



จาก หน้าจอที่ 2 นี้ ท่านจะเห็นว่า ทางซ้ายมือของจอนี้ จะมีคำว่า testdb(0) นั่นหมายความว่า มีฐานข้อมูลชื่อ testdb ถูกสร้างแล้วและเลข 0 ที่อยูาในวงเล็บ แสดงขึ้นมาว่า ยังไม่มีตารางใดในฐานข้อมูล testdb นี้เลย

จาก นั้นในช่องชื่อ ซึ่งอยู่ในการสร้างตารางในฐานข้อมูล ตามตัวอย่างผมขอใส่เป็น employee ซึ่งหมายถึงผมจะเก็บข้อมูลของพนัีกงาน โดยมีช่อง Number อยู่ที่ 5 ซึ่งหมายถึง ผมจะใส่รายละเอียดเกี่ยวกับพนักงานแต่ละคน 5 ช่อง เมื่อกดปุ่ม ลงมือ ก็จะได้ภาพต่อไปดังนี้



จาก รูปที่ 3 นี้ จะมีช่องที่เราให้เรากำหนดฟิลด์ต่าง ๆ ลงไป ก็ให้ท่านกรอกรายละเอียดตามภาพได้เลย (ส่วนรายละเอียดในช่องกลาง INT,VARCHAR...) จะขออธิบายในตอนต่อไปอย่างละเอียดนะครับ

**** ในช่องแรกที่ผมใส่เป็น id ให้ท่านที่อ่านเลือนมาขวามืออีกสักนิด และกำหนดตามภาพในแถวของ id ตามภาพดังนี้ครับ


(ในช่องเพิ่มเติมให้เลือก auto_incretment และ ตรงรูปกุญแจให้คลิกปุ่มดำ)

จากนั้นกดลงมือ เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้างฐานข้อมูลและตารางที่ต้องการครับ



ในตอนต่อไปเราจะมาต่อในตอนที่2 อธิบายหลักกาารคร่าว ๆ เพื่อนำไปสู่การเขียนโปรแกรม PHP+Mysql ต่อไปครับ

นอนหลับฝันดีทุกคนครับ

Part 5 PHP with Appserve.

ในบทนี้ผมขอติ้งต่างอีกครั้งนะครับ ว่าท่านได้ติดตั้ง Appserve เป็นที่เรียบร้แยแล้วนะครับ
ท่านที่ไม่มีโปรแกรมตัวนี้ หรือว่า ติดตั้งไม่เป็น PM มาได้เลย

สัง เกตุง่ายๆ ครับ หากท่านติดตั้งเรียบร้อยแล้วที่ไดรฟ์ C ของท่านผู้อ่าน จะมีโฟลเดอร์ชื่อ Appserve โดยเมื่อคลิกภายใน จะพบอีกหลาย Folder ด้วยกัน หัวใจสำคัญจะมีแค่ 2 โฟลเดอร์เท่านั้นครับ ก็คือ www และ mysql

www จะเป็นห้องใช้สำหรับการเก็บไฟล์เว็บไซต์ทั้งหมด

ส่วน

mysql เข้าไปภายในแล้วจะมีห้อง data ซึ่งเป็นห้องที่ใช้สำหรับการเก็บไฟล์ฐานข้อมูล และตารางที่ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหลายทั้งปวง
(ซึ่งจะขอกล่าวในตอนต่อไป)

ตัวอย่าง

<?
echo "Welcome to Thailand";
?>


โดยให้ทำการบันทึกไฟล์นี้ชื่อว่า test.php ในไดรฟ์ C ห้อง www

จากนั้นเปิด Browser ขึ้นมา อาจจะเป็น IE, Chrome หรืออารายก็ได้ที่ท่านผู้อ่านถนัดแล้วพิมพ์ในช่้อง Address Bar

http://localhost/test.php

หน้าจอจะทำการประมวลผลและแสดงข้อความ Welcome to Thailand ขึ้นมา

ซึ่งหมายความว่า localhost เป็น address หลักในการเริ่มต้นให้ผู้ใช้งานได้ทำการแสดงผลในสิ่งที่กระทำในการเขียนชุดคำสั่ง php ลงไป

ในตอนต่อไป จะนำท่านผู้อ่าน ท่องโลกของ phpmyadmin และทำความรู้จักกับ mysql ว่าทำงานอย่างไร กับ Appserve

ขอบคุณครับ

Section 4 regarding PHP and HTML.

าท่าน ที่เคยเขียน PHP จนขั้นใช้งานได้บ้างแล้ว คงไม่สงสัยกัยหัวข้อนี้แน่นอน แต่ท่านผู้อ่านที่กำลังเริ่มคงจะเริ่มตั้งข้อสงสัยกับตัวเองว่า "มันไปเกี่ยวข้องอะไรอีกล่ะ ในเมื่อตอนนี้ฉันมาเรียน PHP อยู่ " 555+

ไม่ต้องกังวลครับ มันเป็นเทคนิคง่ายๆ  ที่เอามาผสมกลมกลืนกันได้ไม่ยาก

แต่...

ผม แนะนำว่า ท่านผู้อ่านลองหาคำสั่งพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ HTML มาอ่านก่อนดีกว่าครับ เพื่อที่จะเข้าใจมากขึ้น เพราะการทำงานกับ PHP จะเป็นไปอย่างคล่องตัว

ทีนี้เอาล่ะสิ จะหาอ่านจากไหนดี
ผมหาจากอาจารย์กรูมาให้ส่วนหนึ่งครับ (google.co.th)
ก็จะมี

http://www.ohocode.com/index.php?menu=2&ds=learning-display&type=09&learningid=nj0Mg4xcEG4WopQK

http://www.webthaidd.com/html/

ลอง่านดูครับ ผมว่าไม่ยากครับ และไม่เกิน ชั่วโมง ท่านผู้อ่านก็จะเข้าใจมากขึ้น

ผมยกตัวอย่าง อย่างตอนที่ 1 และ ตอนที่ 3 ที่ผมใช้คำสั่ง html ตัวนึงชื่อว่า

<br> ตัวนี้คือ การสั่งให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ตัวอื่น ๆ ที่จะยกตัวอย่างในบทเรียนนี้ก็จะมี
<b> คือ ทำให้ตัวอักษรที่อยู่ภายในคำสังนี้เป็นตัวหนา และ เม่อความต้องการสิ้นสุดลง ให้ปิดการทำตัวหนานั้นด้วย </b> นั่นก็หมายความว่า ปิดคำสั่งด้วยตัวที่เริ่มต้น เพียงแค่ใส่เครื่องหมาย / (Slash) เท่านั้น
<font size="2" color="#ff0000"> ชุดคำสั่งนี้อธิบายสั้น ๆ ก็คือ กำหนดให้ตัวอักษรที่อยู่ในชุดคำสั่งนี้ มีขนาดตัวอักษรเท่ากับ 2 และมีสีของตัวอักษร เป็นสีแดง (#ff0000 มีค่าเป็นสีแดง) และเมื่อต้องการสิ้นสุดการทำงานของชุดคำสั่งนี้ ก็ตามด้วย </font>

ชิมลงไปแค่ 3 คำสั่ง html ก่อนและกัน

ทีนี้เรามาดูตัวอย่างว่า ถ้าเราเอา ชุดคำสั่งมาทำงานร่วมกับ PHP มันจะเกิดอะไรขึ้น
ให้ดูความแตกต่างทั้งการเขียน 2 ตัวอย่างนี้นะครับ

<?
echo "Welcome to thailand";
?>


ผลลัพท์ที่ออกมาคือ

Welcome to thailand

และ

<?
echo "<font size=2 color=#ff0000><b>Welcome to thailand</b></font>";
?>


ผลลัพท์ที่ออกมาคือ

Welcome to thailand

นั่นหมายความว่า ชุดคำสั่งทำงานอยู่ในกรอบหรือพื้นที่เดียวกับ php ได้อย่างไม่น่ากังวล

แต่ เด๊๋ยวก่อน ท่านผู้อ่านย้อนขึ้นไปสักนิด ตรง <font size="2" color="#ff0000">

จะเห็นว่า ตามตัวอย่างที่ 2 นั้น ทำไมเครื่องหมาย " หายไป นั่นก็เพราะว่า

ในชุดคำสั่งของ html นั้น เมื่ออยู่ภายใน php เมื่อเปิด " หลัง echo แล้ว ภายใน " จะต้องไม่มี " ซ้ำกันได้อีก

คงพอเข้าใจไม่มากก็น้อยนะครับ

ในตอนต่อไป ท่านที่มี Appserv เตรียมพร้อมได้เลย เราจะมาจำลอง Web server ในการแสดงผลทำเว็บกัน
รับรองว่ามันส์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
[/color][/b]

(Part 3) variables and constants (Constant & Va.

ต่อกันเลยและกันครับ สำหรับตอนที่ 3 ผมจะนำเสนอในเรื่องของการกำหนดค่า ทั้งค่าคงที่ และความหมายของตัวแปร
เอา แบบพื้น  ๆ พอเข้าใจเลยละกันครับ เพราะเชื่อว่า ถ้าท่านที่กำลังอ่านอยู่ขณะนี้ ทำความเข้าใจ โดยใช้เวลาไม่นานต่อจากนี้ไป รับรองเอาไปต่อยอดของความหมาย ค่าคงที่และตัวแปรได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็วแน่นอน

อะไรคือค่าคงที่

ค่าคงที่ในนิยามที่ผมจะบอกท่านผู้อ่านก็คือ ค่าที่ถูกกำหนดตายตัวในการเขียนโปรแกรม อยู่กะที่ นิ่ง ไม่เคลื่อนไหวอะไรเลย
เช่น

1. เมื่อต้องการกำหนดค่าใด ๆ ก็ตามที่แทนด้วยตัวอักษร ตัวเลข (ที่ไม่ใช่ในการคำนวณ) สามารถกำหนดได้ดังนี้

$name = "John Mac";
หรือ
$nohome = "45/2";


อธิบาย : การตั้งตั้งค่าคงที่ทุกครั้ง ให้ขึ้นต้นด้วยเครื่อง $ ห้ามลืมนะครับ ต้องขึ้นต้นนำหน้าเสมอ และต่ด้วยชื่อที่เราต้องการสื่อ ตามตัวอย่างผมตั้งใจจะตั้งค่าตัวนี้ให้เป็นคำว่า "ชื่อ" ก็คือ name แต่จริงๆ แล้วท่านผู้อ่านสามารถจะตั้งชื่ออะไรก็ได้ โดยที่จะไม่มีเครื่องหมายใด ๆมาปนเป หรือเว้นช่องว่าง เท่านั้นก็พอ แต่แนะนำว่า การตั้งค่าใด ๆ ก็ตามอยากให้สื่อที่ผู้อ่านเข้าใจดีกว่าครับ

จาก นั้นตามด้วยเครื่องหมาย = (เท่ากับ เพื่อให้รู้ว่า ค่าที่เรากำหนด จะเก็บค่าอะไรไว้) ตามตัวอย่างผมตั้งว่า John Mac ซึ่งต้องอยู่ภายในเครื่องหมาย " " ซึ่งได้อธิบายไปแล้ว ตอนที่ 1 จากนั้นปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; เป็นอันสิ้นสุด

เช่นเดียวกับ $nohome = "45/2"; ความหมายของมันก็คือ ตั้งค่าให้ชื่อว่า nohome หมายถึงเลขที่บ้าน ให้มีค่าคือ 45/2 ตัวเลขคือตัวเลขที่เราจะไม่เอาไปคำนวณทางคณิตศาสตณ์ทั้งสิ้น

นี่คือ หลักการง่าย ๆ ครับในการตั้งค่าคงที่ เวลาประกาศค่าคงที่ไว้แล้ว การนำไปใช้ก็ง่านนิดเดียว คือการอ้างถึงค่าคงที่นั้นและนำแสดงผลด้วยคำสั่ง echo (อ่านได้จากตอนที่ 1 สำหรับผู้ที่ข้ามมา)

<?
$name = "John Mac";
$nohome = "45/2";
echo "$name<br>";
echo "$nohome";
?>


ผลลัพท์ที่ได้ก็คือ
John Mac
45/2

--------------------------------------------

จากนั้นมาในเรื่องของตัวแปร ผมจะไม่อธิบายมากนะครับ เพราะมันไปสัมพันธ์กับการส่งค่า
ไม่ส่าจะเป็นการส่งแบบ GET หรือ POST คงจะอธิบายแบบละเอียดอีกครั้งในหัวข้อของการสร้าง Form ดีกว่า

ค่าตัวแปรคืออะไร
** สั้น ๆ ได้ใจความก็คือ ค่าที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยเป็นค่าที่ไม่ได้ถูกกำหนดตายตัวเหมือนกับค่าคงที่ ตัวแปรนี้อยู่ที่ทางผู้ทำเว็บเป็นคนกำหนด เพื่อให้มีการรับค่าแล้วนำไปประมวลผล (Process) ได้ตามค่าที่รับมา

เช่น

มีการสร้าง text input 1 ตัว โดยกำหนดจองชื่อให้กับ text input ว่า name โดย name นี้ ไม่มีค่าใด ๆ ทำการเก็บไว้
name จะมีค่าได้ก็ต่อเมื่อมีการป้อนข้อมูลลงใน name และนำค่าที่ใส่ไปใน name มาแสดงผล ซึ่งในการแสดงผลแต่ละครั้ง
ค่า name อาจเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา อยู่ที่เราจะเอาอะไรไปใส่ใน name ก็เท่านั้น


ค่าของตัวแปรนี้ ผมจะสอนอีกทีในหัวข้อของการสร้าง Form เพื่อการใช้งานอีกทีนะครับ

จบแค่นี้และกันครับ
สวนในตอนที่ 4 เรามาคุยกันในเรื่องของการใช้ PHP ร่วมกับ HTML กัน

Getting Started with PHP (Part 2).

อ้างอิงจาก http://xn--php-wnl6bzcb.blogspot.com/2011/11/getting-started-with-php-part-1.html (เริ่มต้นกับ PHP ตอนที่ 1)

ไม่รอช้า เดี๋ยวผู้ที่กำลังเริ่มต้นร้อนใจ อยากจับงานไวไว เอาเป็นว่า ในตนที่ 2 เรามาทำความรู้จักกับ PHP ให้มากขึ้นและกันครับ

เริ่มเลย เริ่มจับเริ่มเขียน PHP

จริง ๆ แล้ว ตอนที่ 2 นี้ ถ้าท่านที่กำลังคันไม้คันมือ อยากรู้และอยากทำความรู้จักกับมัน ยังไม่ต้องใช้ Editor ของ Macromedia Dreamweaver ก็ได้ครับ เปิดใช้ Notepad ก่อนก็ได้ เพราะขั้นตอนการเขียนเหมือนกัน (ต่างกันตรงที่ Dreamweaver จะบอก line ที่แสดงผลผิดพลาดได้อย่างชัดเจนเท่านั้น) แต่ถ้าใครถนัด Editplus ก็ไม่ว่ากัน ส่วนผมถนัดแค่ Dream กับ Notepad ครับ อิอิ

เปิด Notepad ขึ้นมาเลยครับ

เอาตัวอย่าง Workshop แรกก่อนและกัน ให้ท่านพิมพ์ตามนี้ครับ

หมายเหตุ ถ้าท่านใดใช้ Editor ของ Dreamweaver จะสังเกตุว่า เครื่องหมาย <? ... ?> จะเป็นตัวสีแดงหนาครับ


<?
echo "Welcome to thailand";
?>


จะเห็นว่ามีแค่ 3 บรรทัดเท่านั้นครับ
จุดประสงค์หลักก็คือ ให้แสดงหน้าเว็บให้มีแค่คำว่า Welcome to thailand

อธิบาย
ภาษา PHP จำเป็นต้องมีเนื้อที่พิเศษให้มัน เพื่อรับรู้ว่า เป็นส่วนที่จับจองพื้นที่ของภาษา PHP เท่านั้น ภาษาอื่นใดห้ามยุ่งกับฉันเด็กขาด ไม่งั้น... เริ่มด้วยการเปิดเครื่องหมาย <? และ ปิดด้วย ?> ซึ่งจะเห็นว่า ภายในเครื่องหมายนี้ จะมีชุดคำสั่งอยู่ 1 บรรทัดก็คือ echo "Welcome to thailand";

คำ สั่ง echo คือ คำสั่งที่บอกว่า ให้แสดงคำว่าอะไรภายในเครื่องหมาย " (double qout) พื้นบ้านก็คือ เครื่องหมายฟันหนู ซึ่งจะต้องมีทั้งเปิดและปิด และภายในเครื่องหมาย " นี้ จะไม่สามารถมีเครื่องหมาย " ซ้ำกันได้ เช่น

echo "Welcome to "thailand""; ซึ่งภาษา PHP ถือว่า Syntax Error ก็คือผิดกฏการเขียนนั่นเอง

เมื่อปิดด้วยเครื่องหมาย " แล้ว จะต้องตามด้วยเครื่องหมาย ; (Semi colon) ด้วยทุกครั้ง ถือเป็นการสิ้นสุดต่อชุดประโยคหนึ่งของคำสั่ง

เพียงเท่านี้ครับ ท่านก็จะมีข้อความแสดงบนเว็บไซต์อย่างง่าย ๆ

หมายเหตุ ในกรณีที่ต้องการแสดงข้อความมากกว่า 1 บรรทัด ให้สังเกตุ code ด้านล่างนี้

<?
echo "Welcome to thailand<br>";
echo "This is my friend";
?>


ผม ลักพท์ก็คือ จะมี 2 ประโยคอยู่คนละบรรทัดกัน นั่นหมายความว่า เราจำเป็นที่ต้องใช้ Tag <br> ซึ่งเป็นคำสั่งพื้นฐานของภาษา HTML  เข้ามาช่วย ใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่ แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่จะประยุกต์เอาก็ได้นะครับ เพราะการเขียน PHP ไม่มีหลักตายตัวนักแล้วแต่กลยุทธิ์ของท่านที่จะเขียน เช่น

<?
echo "Welcome to thailand";
echo "<br>This is my friend";
?>


หรือ

<?
echo "Welcome to thailand";
echo "<br>";
echo "This is my friend";
?>


ก็แล้วแต่ความต้องการ

จบแค่นี้ก่อนและกันครับ ลองเริ่มดูเลยครับ เผื่อหลายท่านจะมี IDEA อารายผุดขึ้นมาแจ่ม ๆ ก็ได้
ในตอนที่ 3 เราจะมาพูดถึงเรื่องของการตั้ง ค่าคงคงที่จะตัวแปรกันครับ

Getting Started with PHP (Part 1).

ความ ตั้งใจมานานที่จะมีบอร์ดเพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้ที่เริ่มต้นกับ PHP ต้องบอกก่อนนะครับ บทความในตอนที่ 1 นี้ เป้นเฉพาะผู้ที่เริ่มต้นจริง ๆ อาจจะเพราะคลำทางไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง อานได้ในตอนที่ 1 ก่อนนะครับ ก่อนจะข้ามไปบทต่อไป ผมจะเขียนให้ง่ายที่สุด เนื้อหา ข้อความ อาจจะอ้างอิงแหล่งความรู้ื่อื่น ๆ แต่จะปรับให้เห็นภาพอย่างชัดเจนมากที่สุดครับ

PHP คืออะไร
ผม ว่าเป็นคำถามยอดฮิตมาก ติ๊งต่างไปแล้วกันว่า ท่านที่พร้อมจะเร่มต้นก็คงเข้าใจคำว่าเขียนโปรแกรมมาบ้างแล้ว แต่ไม่ทราบว่า PHP ทำงานอย่างไร อธิบายสั้น ๆ ครับ PHP คือ โปรแกรมภาษาตัวนึงที่ทำงานกับ Web Application ให้การทำงานบนเว็บไซต์เกิดการตอบสนองทั้งผู้ใช้งานและเจ้าของเว็บนั้น (ง่ายไปมั้ยนี่)

เริ่มแรกกับ PHP ช่วงที่ 1
เกริ่น ก่อนนะครับ ก่อนหน้านั้นผมไม่เคยจับ PHP มาเลย จะรู้จักและเริ่มต้นกับภาษา PERL ซึ่งพัฒนามาจากภาษา C (ยากส์มาก ๆ ทุกวันนี้ยังไม่เป็นเลย) ช่วงแรก ๆ ที่รู้จักและจับ PERL มึนตึ๊บครับ เพราะก็เพิ่งจับทำเว็บครั้งแรกเช่นกัน หลังจากที่จับแต่ HTML มาล้วน ๆ

แรกเริ่มเดิมที ดูแล้วก็ไม่น่าจะศึกษาลำบากมากนัก เพราะไวยกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง ภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาที่สอดคล้องกับความหมายของคนเราพูดกัน เช่น เงื่อนไข ถ้า....หรือ...และ...แล้ว ก็ใช้ if .. else เป็นต้น เสมือนว่าเราคิดอะไร ก็แปลงออกมาอย่างนั้น

แต่...

ข้อเสียของ PERL อยู่ที่ว่า มันจำกัดทางที่แคบไปเช่น ใช้งานร่วมกับเนื้อที่ HTML ได้น้อย หรือแม้กระทั่ง การ EXEC ของไฟล์ช้ามากๆๆๆ

เริ่มแรกกับ PHP ช่วงที่ 2
*** ก่อนเริ่มจับ PHP กัน ตอนที่ 1 นี้ อยากให้ผู้ที่กำลังเริ่มศึกษาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงสนามจริง (จังกัน) ด้วยการตระเตรียมเครื่องมือ (ผมชอบใช้คำว่าอาวุธประจำกาย) เพราะ ไม่มีเครื่องมือทำว็บเหล่านี้ จบแน่นอน

*** ต้องขอบอกก่อนนะครับ (คงไม่เหมาะกับท่านที่ชอบเทคโนโลยีเก่า ๆ เพราะผมเชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมเวอร์ชั่นไหน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่อยู่ที่คุณภาพงานที่ออกมาเท่านั้น)

เริ่มกันที่
1. โปรแกรมที่ออกแบบตกแต่งภาพก็ Adobe Photoshop อย่าเพิ่งตกใจถ้าผมจะบอกวา ผมยังใช้เวอร์ชั่น 7 อยู่ ซึ่งผมก็เชื่ออย่างนึงว่า ตัวนี้เสถียรที่สุด ไม่มี bug มาให้รำคาญใจสักนิด plug-in ถึงจะน้อยนิดแต่ก็หาไม่ยากที่จะสร้างสรรค์งานให้สวยงามได้


2. Appserve 2.5.10 เวอร์ชั่นไม่เก่าไม่ใหม่ แต่ถือว่าเป็นตัวจำลอง Server ขั้นเทพ ที่มาพร้อมกับ PHPMYADMIN ความลงตัวของสถาปัต DATABASE


3. Macromedia Studio MX 2004 บางท่านที่อ่านข้อนี้ คงอ๋อ หรือ ส่ายหน้าแบบไม่รู้จัก หรือ หยีๆๆๆๆ ขึ้นมาว่า ทำไมเก่าอารายอย่างนี้ (555+) เก่าจริง ๆ ครับ แต่คุณภาพสร้างงานมา ไม่ต่างกับ CS เลย ผมรับรองได้ อีกทั้งยังมีโปรแกรมด้านใน ในชุดของตัวนี้ก็คือ Macromedia Dreamweaver โปรแกรมจัดทำและออกแบบเว็บไซต์ตัวเยี่ยม และ Macromedia Firework ที่ผมเอามันไว้ตัดภาพก่อนเอาลงไปในโฮมเพจที่สร้าง


4. Chrome Browser หลายท่านรู้จักแน่ แต่เนื่องจากผมถือเป็นโปรแกรมคู่ใจที่ต้องเตรียมพร้อมไว้ติดตั้ง เนื่องจาก บางครั้งไปไหนก็ตามที่ไม่มีเน็ตใช้ หรือติดตั้งเครื่องใหม่ที่ไม่สามารถดาวน์โหลดได้ ตัวนี้เลยครับ ติดตั้งทันที ถามว่าทำไมต้องใช้ Chrome คำตอบง่าย ๆ คับ คือ เร็ว และ เชื่อว่า ถ้าทำเว็บออกมาที่จะแสดงผลบน Browser ตัวนี้แล้ว ตัวอื่นไม่ว่าจะเป็น IE,Mozila , Opera และอื่น ๆ  รูปแบบของการทำเว็บจะตรงเหมอนกันหมด (คิดว่างั้น)

5. CuteFTP Profressional 8.0 โปรแกรมอัพโหลดไฟล์งานของเรา ให้นำเสนอบน HOST ของเรา


เครื่อง มือ 5 ตัวอาวุธประจำกายครับ ที่อยากให้ทุกท่านได้มีไว้ใช้กัน อาจจะเชยไปหน่อยแต่ผมเชื่อว่า มันคงไม่ล้าหลังไปกับผู้ที่ต้องการพัฒนางานที่มีคุณภาพดีดีสักตัว เหมือนกับการใช้ในเวอร์ชั่นใหม่ ๆ อย่างแน่นอน

*** ท่านใดที่ได้เข้ามาอ่านในตอนที่ 1 นี้ หากอยากได้อาวุธคู่กายของผมทั้ง 5 ตัว PM มาได้เลยครับ แจกๆๆๆๆๆฟรี เป็นวิทยาทานความรู้ และนำไปพัฒนาศึกษาต่อไป

จบการเริ่มต้นกับ PHP (ตอนที่ 1) แค่นี้ก่อนและกันครับ ให้หลายท่านที่ได้เริ่มและอ่านในกระทู้นี้ ไปติดตั้งอาวุธคู่กายคุณให้เรียบร้อยก่อนตอนที่ 2 เราจะมาพูดคุยกันในเรื่อง เริ่มจับ เริ่มเขียน PHP กับงานตัวแรกกันครับ

 
Design by I Love PHP